"โรคเก๊าท์"
เกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือดมีปริมาณสูงเกินไป จากกระบวนการใช้และขับถ่าย สารพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติไป
พิวรีนเป็นธาตุอาหารที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เป็นต้น ซึ่งจะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี สำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่น เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้าทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูก หรือรอบ ๆ ข้อกระดูก
ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ชายในวัยประมาณ ๔๐ ปี แต่ถ้าเกิดในผู้หญิงมักจะพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์
ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
อาการของโรค
มีอาการปวด บวม แดง ร้อนตามข้อ และเจ็บ อาจรุนแรงจนถึงกับเดินไม่ได้ก็มี อาการนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ จะทิ้งช่วงระยะเวลาเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ซึ่งอาการปวดอาจจะเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ ข้อที่เป็นบ่อย เช่น ข้อเท้า ข้อหัวแม่เท้าหรือหัวข้อเข่า นอกจากอาการปวดตามข้อแล้วอาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน
มีอาการปวด บวม แดง ร้อนตามข้อ และเจ็บ อาจรุนแรงจนถึงกับเดินไม่ได้ก็มี อาการนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ จะทิ้งช่วงระยะเวลาเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ซึ่งอาการปวดอาจจะเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ ข้อที่เป็นบ่อย เช่น ข้อเท้า ข้อหัวแม่เท้าหรือหัวข้อเข่า นอกจากอาการปวดตามข้อแล้วอาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน
การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น ๒ ช่วง ได้แก่
๑. การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ ๓-๔ เม็ด
๒. การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า ๑ ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้ การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง แต่ข้อควรระวังคือ ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก และการกินยาไม่สม่ำเสมอ กิน ๆ หยุด ๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก
๑. รับประทานอาหารตามปกติให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป การที่น้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไปอาจทำให้อาการโรครุนแรงยิ่งขึ้น
๒. นอนหลับให้เพียงพอ
๓. สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ ความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ เช่น จากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้
๔. ควรดื่มน้ำมาก ๆ ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ ๘ แก้ว (ประมาณ ๒ ลิตร) จะช่วยได้มากในเรื่องนี้
๕. ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย
อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( ๐-๕๐ มิลลิกรัมต่ออาหาร ๑๐๐ กรัม) ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ธัญญพืชต่าง ๆ ผักต่าง ๆ ผลไม้ต่าง ๆ ผลไม้เปลือกแข็ง(ทุกชนิด) น้ำตาล ไขมัน
อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (๕๐-๑๕๐ มิลลิกรัมต่ออาหาร ๑๐๐ กรัม) ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากระพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ใบขี้เหล็ก สะตอ ข้าวโอ๊ตผักโขม เมล็ดถั่วลันเตา หน่อไม้
อาหารที่มีพิวรีนสูง (๑๕๐ มิลลิกรัมขึ้นไป) * อาหารที่ควรงด ได้แก่ หัวใจไก่ ไข่ปลา ตับไก่ มันสมองวัว กึ๋นไก่ หอย เซ่งจี้(หมู) ห่าน ตับหมู น้ำต้มกระดูก ปลาดุก ยีสต์ เนื้อไก่,เป็ด ซุปก้อน กุ้งชีแฮ้ ปลาไส้ตัน ถั่วดำ ปลาขนาดเล็ก ถั่วแดง เห็ด ถั่วเขียว กระถิน ถั่วเหลือง ตับอ่อน ชะอม ปลาอินทรีย์ กะปิปลาซาดีนกระป๋อง
ที่มา :
ชอบมาก รายละเอียดของโรค เก๊าท์
ตอบลบขอบคุณมากคะ ^^
ลบไม่ชอบคะ ไม่อยากเป็นคะ น่ากลัวววววววววววววววววว
ตอบลบแต่ชอบหมอนะ เพราะหมอน่าร๊ากกกกกกกกกกกกกก
ขอบคุณคะ ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ
ลบมีปัญหาสามารถปรึกษาที่ รพ. ได้คะ