ภาวะไขมันในเลือดสูง
เป็นความผิดปกติที่พบบ่อยกับประชาชนในประเทศไทย เนื่องจากการดำเนินชีวิตของคนในประเทศคล้ายกับประเทศตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุที่ทำให้บุคคลเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ หรือภาวะไขมันในเลือดสูง มาจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น กรรมพันธุ์ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ อายุที่มากขึ้น การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สาเหตุต่างๆเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะดังกล่าว
ไขมันในเลือดที่มีความสำคัญทางการแพทย์แบ่งได้เป็น ๒ ชนิด ได้แก่ คลอเลสเตอรอล (cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) มี ๕ ชนิด ได้แก่ chylomicron, VLDL , IDL , LDL และ HDL ซึ่งการเกิดโรคนั้นเกิดจากภาวะที่เลือดมีคอเลสเตอรอลชนิดให้โทษ (LDL) สูงและมีคอเลสเตอรอลชนิดให้คุณ (HDL) ต่ำ ความผิดปกตินี้จะนำไปสู่ การเกิดหลอดเลือดแดงแข็งและตีบแคบ โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมอง ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจและสมองขาดเลือด เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจเสียชีวิตได้
การรักษามีทั้งต้องใช้ยาและที่ไม่ต้องใช้ยา ซึ่งการรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา ได้แก่
ควบคุมอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง หนังเป็ด หนังไก่ และถ้าผู้ป่วยมีไตรกลีเซอร์ไรด์สูงด้วย ควรระวังอาหารพวก แป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด
รับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย
หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้มีการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น
หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน หรือใช้น้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งจะมีกรดไลโนเลอิก เป็นตัวนำคอเลสเตอรอลไปเผาผลาญ
ควรรับประทานอาหารพวกผักต่างๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้ใยและกาก เช่น คะน้า ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยมากขึ้น กากใยเหล่านี้จะช่วยในการดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
การออกกำลังกาย จะช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับของ HDL ควรทำอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง ๆ ละ ๒๐ – ๓๐ นาที การออกกำลังกายที่ดี เช่น การเดินเร็ว จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น