ความดันโลหิตสูง



ความดันโลหิตสูง

     ภาวะความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณ 10% ของประชากรทั่วโลก เป็นภาวะเรื้อรังที่พบได้บ่อยในคนไทยและสามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ

โดยปกติผู้
ที่อายุไม่ถึง 40 ปี ความดันโลหิตไม่ควรเกิน 140/90 มม.ปรอท ค่าความดันตัวบนอาจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ จะทราบค่าความดันโลหิตตัวบนปกติของแต่ละอายุได้ โดยนำจำนวนอายุมาบวกกับ 100 โดยทั่วไปความดันตัวบนไม่ควรเกิน 160 มม.ปรอท และความดันตัวล่าง (ในผู้ใหญ่) ไม่อายุเท่าไหร่ก็ตามไม่ควรเกิน 90 มม.ปรอ

    อาการสำคัญทีพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง คือ
  • ปวดศีรษะ มึนงง โดยทั่วไปจะปวดบริเวณท้ายทอย และมักจะเป็นในตอนเช้า ถ้าความดันโลหิตสูงมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะมีอาการคลื่นไส้ และตามัวร่วมด้วย ในบางรายอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น
  • เหนื่อยง่าย เนื่องจากหัวใจต้องทำงาน
  • เลือดกำเดาออก
    ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะเป็นผู้ที่      
    - มีบิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย พี่ ป้า น้า อา มีประวัติเป็นความดันโลหิตสูง โรคอ้วนหรือเบาหวานมาก่อน     
    - เส้นโลหิตใหญ่ตีบตัน ได้แก่ เส้นโลหิตใหญ่ในช่องท้องหรือเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน ถ้าเป็นระยะแรก ๆ ในคนหนุ่มสาวจะแก้ไขได้โดยการทำผ่าตัด     
    - มีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต แก้ไขโดยการทำผ่าตัด     
    - โรคครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดรวมกับการตั้งครรภ์ ความดันโลหิตจะลดลงภายหลังคลอด     
    - โรคไต เช่น ไตอักเสบ หรือโรคไตเรื้อรังบางชนิด     
    - ใช้ยาคุมกำเนิดในสตรีบางคน ความดันโลหิตจะหลับปกติเมื่อหยุดยา     
    - มีความเครียด วิตกกังวล
ถ้าสงสัยว่าความดันโลหิตจะผิดปกติ ควรได้รับการวัดความดันโลหิตจากแพทย์หรือพยาบาล เป็นวิธีการตรวจง่าย ๆ ท่านก็จะทราบความดันโลหิตของท่าน ถ้าวัดครั้งแรกสูงกว่า 160/95 มม.ปรอท ควรนอนพัก 5-10 นาทีแล้ววัดใหม่ ถ้วยังสูงเท่าเดิม ควรจะต้องวัดซ้ำในระยะ 2-3 สัปดาห์ ถ้ายังสูงอยู่ถือได้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งควรจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยปกติความดันโลหิตจะไม่คงที่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อารมณ์และสิ่งแวดล้อมด้วย
    จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อมีความดันโลหิตสูง เมื่อตรวจพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ และปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
  • งดอาหารที่มีรสเค็ม เช่น ไข่เค็ม กะปิ เต้าเจี้ยว หมูเค็ม ฯลฯ อาหารที่รับประทานควรปรุงด้วยเกลือหรือน้ำปลายน้อยที่สุด
  • ลดอาหารมันทุกชนิด และหลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ เช่น ขาหมู หมู 3 ชั้น อาหารประเภททอดหรือผัดอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ ใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารควรรับประทานไข่ไม่เกิยอาทิตย์ละ 3 ฟอง หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาย เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เกี่ยมอี๋ วุ้นเส้น เผือก มัน ขนมหวาน และผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่
  • งดบุหรี่ และเหล้า
  • ทำจิตใจให้สบายไม่เครียดและวิตกกังวล หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยการเดิน วิ่งขี่จักรยาน โดยเริ่มทีละน้อย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง 30-45 นาทีต่อวัน การออกกำลังกายจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียดและทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตดีขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายประเภทที่ต้องออกแรงดึงดัน กลั้นหายใจหรือแบ่ง เช่น การชักเย่อ ยกน้ำหนักวิดน้ำ เป็นต้น
  • สตรีที่มีความดันโลหิตสูงจากยาคุมกำเนิดควรหยุดยา ปรึกษาแพทย์และพยาบาลเพื่อหาวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
  • รับประทานยาตามที่แพทย์และพยาบาลแนะนำและมาตรวจตามนัด ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง

    1. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้วไม่รักษา หรือรักษาและปฏิบัติตัวไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดภาวะความดันโลหิตสูงร้ายแรงขึ้น โดยเฉพาะถ้าค่าความดันโลหิตตัวล่างสูงเกิน 130 มม.ปรอท จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังนี้
  • สายตาเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว หรือตาบอด หลอดเลือดในตาอาจตีบตันหรือแตกมีการตกเลือดในตาหรือบวมในชั้นตาที่รับภาพ
  • อาการทางสมอง หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาจชักหรือไม่รู้สึกตัว และอาจเกิดอัมพาตถ้ารักษาไม่ทัน
  • หัวใจล้มเหลว จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานมากขึ้น จึงทำให้หัวใจโต เกิดอาการเหนื่อย หอบหายใจลำบาก โดยเฉพาะทางกลางคืน และภาวะความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อขาดเลือดจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
  • ไตพิการ หรือไตอักเสบ เกิดอาการบวม
  • ที่มา : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/june22/blood.htm

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น